top of page
ค้นหา

รู้ก่อนสร้าง! คลังสินค้าธุรกิจแบบนี้ เลือกใช้เมทัลชีทแบบไหนถึงจะเวิร์ก

  • รูปภาพนักเขียน: Sangthai Metalsheet
    Sangthai Metalsheet
  • 12 นาทีที่ผ่านมา
  • ยาว 1 นาที
คลังสินค้าธุรกิจแบบนี้ เลือกใช้เมทัลชีทแบบไหนถึงจะเวิร์ก

ในยุคที่ธุรกิจต้องการความคล่องตัวและต้นทุนที่คุ้มค่า การสร้าง “คลังสินค้า” ที่ตอบโจทย์จึงไม่ใช่เรื่องเล็ก โดยเฉพาะในช่วงเริ่มต้นที่ต้องตัดสินใจเลือกวัสดุก่อสร้างต่าง ๆ ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการใช้งานระยะยาว หนึ่งในวัสดุยอดฮิตที่เจ้าของกิจการมักเลือกใช้ก็คือ เมทัลชีท เพราะมีคุณสมบัติเหมาะกับโรงเก็บสินค้าหลากหลายประเภท แต่รู้หรือไม่ว่าเมทัลชีทมีหลายแบบ และไม่ใช่ทุกแบบจะเหมาะกับคลังเก็บสินค้าทุกประเภท 


บทความนี้ แสงไทยเมทัลชีท จึงได้รวบรวมข้อมูลดี ๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับ รู้ก่อนสร้าง! คลังเก็บสินค้าธุรกิจแบบนี้ เลือกใช้เมทัลชีทแบบไหนถึงจะเวิร์ก มาฝากกัน  



เมทัลชีทคืออะไร? ทำไมถึงนิยมใช้กับคลังสินค้า 


เมทัลชีทคืออะไร? ทำไมถึงนิยมใช้กับคลังสินค้า

เมทัลชีท (Metal Sheet) คือแผ่นเหล็กรีดลอนที่ผ่านกระบวนการเคลือบกันสนิม เช่น อะลูมิเนียมผสมสังกะสี หรือซิงก์ (Zinc)  ที่ช่วยป้องกันการเกิดสนิม เพิ่มความทนทานและยืดอายุการใช้งานได้อย่างยาวนาน  


โดยปัจจุบันแผ่นเมทัลชีทได้มีการพัฒนาให้เหมาะสมกับการใช้งานที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น แบบชั้นเดียว, แบบเคลือบสี, หรือแบบแซนวิชพียูโฟมที่ช่วยเพิ่มคุณสมบัติการกันความร้อนและเสียงได้อย่างมีประสิทธิภาพ


คุณสมบัติเด่นของเมทัลชีทที่ตอบโจทย์คลังสินค้า  


  1. น้ำหนักเบา ลดภาระโครงสร้างอาคาร ทำให้ติดตั้งได้รวดเร็ว และประหยัดต้นทุนด้านแรงงาน 

  2. ทนทานต่อสภาพอากาศ เช่น ฝนตก แดดแรง หรือไอทะเล โดยไม่เป็นสนิมง่าย 

  3. รับแรงกระแทกได้ดี ลดความเสียหายจากวัตถุตกกระทบในพื้นที่ใช้งานหนัก 

  4. ต้นทุนคุ้มค่า มีอายุการใช้งานยาวนาน แต่ต้นทุนต่ำกว่าวัสดุอื่นอย่างคอนกรีตหรือกระเบื้อง 

  5. หลากหลายรูปแบบ เลือกได้ทั้งลอนหลังคา, แผ่นผนัง, แผ่นโปร่งแสง และแผ่นกันความร้อนตามความต้องการ 

  6. ดีไซน์สวยงาม มีสีและลอนให้เลือกหลากหลาย ช่วยเพิ่มความทันสมัยให้ตัวอาคาร 


ด้วยเหตุนี้ เมทัลชีทจึงกลายเป็นวัสดุอันดับต้น ๆ ที่นิยมใช้ในคลังเก็บสินค้า และโรงงานในหลายขนาด  เพราะสามารถตอบโจทย์การใช้งานหนัก และยังช่วยลดต้นทุนทั้งในระยะสั้นและระยะยาวได้อย่างชัดเจน



3 ประเภทของคลังสินค้า เข้าใจให้ชัด ก่อนเลือกเมทัลชีท  


ถึงแม้ว่าคลังสินค้าหลายแห่งจะมีโครงสร้างที่คล้ายกันในหลากหลายรูปแบบ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ลักษณะการใช้งาน และ การจัดเก็บประเภทสินค้าที่จัดเก็บนั้น มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน ดังนั้น การเลือกเมทัลชีทให้เหมาะกับคลังแต่ละประเภทจึงเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญ ที่จะทำให้การลงทุนคุ้มค่า และใช้งานได้จริงในระยะยาว เช่น  


1. คลังเก็บสินค้าทั่วไป 


คลังสินค้า ทั่วไป

มักใช้ในธุรกิจค้าส่งหรือ SME ที่ต้องการเก็บสินค้าทั่วไป เช่น อุปกรณ์ เครื่องใช้ ของแห้ง หรือสินค้าที่ไม่ไวต่ออุณหภูมิ ความชื้น หรือแสงแดด 


ลักษณะเด่น: เน้นพื้นที่ใช้งานกว้าง ราคาคุ้มทุน และใช้งานสะดวก 


คำแนะนำ 

ควรใช้เมทัลชีทเคลือบสีธรรมดา หรือ อลูซิงก์ที่มีการรับรองตามมาตรฐาน ซึ่งจะช่วยให้อาคารมีการใช้งานที่คุ้มค่า คุ้มราคา และรองรับการใช้งานได้ดีในระยะยาว 


2. คลังสินค้าควบคุมอุณหภูมิ 


คลังสินค้า ควบคุมอุณหภูมิ

เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมอาหารสด แช่แข็ง เวชภัณฑ์ หรือเครื่องมือการแพทย์ ที่ต้องการอุณหภูมิคงที่ตลอด 24 ชั่วโมง 


ลักษณะเด่น: ต้องการวัสดุที่ป้องกันความร้อน และ รักษาอุณหภูมิความเย็นในอาคารได้ดี 


คำแนะนำ 

ควรเลือกเมทัลชีทแบบพ่น PU Foam หรือ ฉนวนแซนวิช เพราะมีคุณสมบัติเป็นฉนวนกันความร้อน เพิ่มความเย็น ซึ่งมีส่วนช่วยลดการทำงานของระบบปรับอากาศ และประหยัดพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 


3. คลังสินค้าขนาดใหญ่ หรือ โรงงานอุตสาหกรรม 


คลังสินค้า ขนาดใหญ่ หรือ โรงงานอุตสาหกรรม

สำหรับคลังสินค้าประเภทนี้ มักมีพื้นที่ครอบคลุมหลายพันตารางเมตร และต้องรองรับการใช้งานหนัก เช่น รถยกขนถ่ายสินค้า, เครื่องจักร, และคนงานจำนวนมาก เป็นต้น 


ลักษณะเด่น: ต้องการการระบายอากาศที่ดี, ลดความร้อนสะสมในอาคาร และมีแสงธรรมชาติเข้ามาเพื่อลดค่าไฟ 


คำแนะนำ 

ควรเลือกเมทัลชีทพียูโฟม ที่ติดตั้งร่วมกับ แผ่นโปร่งแสง (Skylight Sheet) หรือ พัดลมระบายอากาศ (Ventilation Fan) เพื่อเสริมให้คลังเย็นสบายและสว่างทั่วถึง 


ตัวอย่างคลังสินค้าที่เลือกใช้เมทัลชีทอย่างเหมาะสม 


1. คลังสินค้ากลุ่มอีคอมเมิร์ซ และ โลจิสติกส์ 

บริษัทด้านขนส่งและศูนย์กระจายสินค้า มักมีการขนถ่ายสินค้าเข้าออกตลอดทั้งวัน จึงต้องการหลังคาที่มีความแข็งแรงและสามารถควบคุมอุณหภูมิได้ดี เช่น ใช้เมทัลชีทแบบพ่น PU Foam พร้อมติดตั้งพัดลมระบายอากาศและแผ่นโปร่งแสง เพื่อช่วยประหยัดพลังงานและเพิ่มความสว่างภายในคลัง 


2. คลังเก็บสินค้าเก็บอาหารและเวชภัณฑ์ 

ธุรกิจกลุ่มนี้ต้องการระบบควบคุมอุณหภูมิที่แม่นยำ เมทัลชีทที่ใช้จึงต้องมีการบุฉนวนกันร้อน PU และ PE เพิ่มเติม พร้อมซีลรอยต่อแน่นหนา เพื่อป้องกันความร้อนเข้าและรักษาความเย็นไว้ได้ยาวนาน อีกทั้งยังมีส่วนลดการทำงานของระบบทำความเย็นลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ 


3. คลังเก็บสินค้าสำหรับธุรกิจ SME 

คลังสินค้าขนาดเล็กที่ต้องการต้นทุนที่เหมาะสม มักเลือกใช้เมทัลชีทเคลือบสีมาตรฐาน โดยอาจเสริมฉนวนบางจุดตามความจำเป็น ตอบโจทย์เรื่องต้นทุนและใช้งานได้จริงในชีวิตประจำวัน 



4 คุณสมบัติเมทัลชีทที่ต้องมี  หากต้องการสร้าง “คลังสินค้า” ให้กับธุรกิจ 


4 คุณสมบัติเมทัลชีทที่ต้องมี  หากต้องการสร้าง “คลังสินค้า” ให้กับธุรกิจ

การเลือกเมทัลชีทที่ดีไม่ใช่แค่เรื่อง "ความสวยงาม" หรือ "ราคาถูก" แต่ควรตอบโจทย์ต่อการใช้งานในระยะยาว โดยเฉพาะในบริบทของคลังเก็บสินค้าซึ่งเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ เช่น  


1. กันความร้อนได้ดี 

ประเทศไทยมีสภาพอากาศร้อนชื้น การเลือกเมทัลชีทที่มีฉนวนกันความร้อน เช่น PU Foam หรือ PE Foam ช่วยลดการสะสมความร้อนในคลัง ทำให้ประหยัดพลังงานในการเปิดแอร์หรือเครื่องปรับอากาศ 


2. ทนต่อแรงลม และฝน 

หลังคาคลังสินค้าต้องเผชิญกับแรงลม ฝนฟ้าคะนอง และฝุ่นละอองตลอดปี จึงควรใช้เมทัลชีทที่มีความหนาไม่น้อยกว่า 0.35 มม. พร้อมระบบยึดแผ่นที่แน่นหนา เพื่อป้องกันการปลิวหรือรั่วซึม 


3. ลดเสียงรบกวนจากภายนอก 

โดยเฉพาะคลังสินค้าที่อยู่ใกล้ย่านชุมชนหรือสำนักงาน เสียงฝนกระทบหลังคาสังกะสีธรรมดาอาจสร้างความรำคาญได้ การเลือกเมทัลชีทที่มีชั้นฉนวนโฟมช่วยดูดซับเสียง ทำให้อาคารเงียบขึ้น 


4. อายุการใช้งานยาวนาน 

เมทัลชีทที่ดีควรมีการเคลือบสารป้องกันสนิม เช่น AZ150 หรือ Zincalume เพื่อยืดอายุใช้งานให้นาน 20–30 ปี รวมถึงหากบางรุ่นมีการผลิตได้ตรงตามมาตรฐานในหลายประเทศ ก็จะช่วยลดการดูแลบำรุงรักษา และค่าใช้จ่ายระยะยาว 


หากเลือกเมทัลชีทผิดประเภท จะเกิดอะไรขึ้นกับคลังสินค้า 


หากเลือกเมทัลชีทผิดประเภท จะเกิดอะไรขึ้นกับคลังสินค้า

ปัจจุบันหลายธุรกิจอาจพยายามลดต้นทุนด้วยการเลือกใช้เมทัลชีทราคาถูก หรือแบบที่ไม่ได้ออกแบบมาสำหรับลักษณะการใช้งานของคลังสินค้าประเภทนั้น ๆ ซึ่งผลลัพธ์ที่ตามมาอาจกลายเป็นต้นทุนแฝงที่สูงกว่าที่คาดคิดในระยะยาว  ไม่ว่าจะเป็น ด้านความปลอดภัย การบำรุงรักษา หรือแม้แต่ภาพลักษณ์ขององค์กร เช่น 


  1. เมทัลชีทรั่วซึมเพราะติดตั้งผิดลอนหรือวัสดุไม่รองรับแรงลม 

  2. เก็บความร้อนไว้มาก ทำให้ต้องเปิดแอร์แรง เสียค่าไฟสูง 

  3. เกิดสนิมจุด สีซีดเร็ว ทำให้อาคารดูเก่าเร็วขึ้น ภาพลักษณ์ดูไม่ดี 

  4. เมทัลชีทเสียงดังเวลาโดนฝน จากความหนาที่ไม่ได้มาตรฐาน ทำให้พนักงานทำงานลำบาก

     

ดังนั้น การเลือกเมทัลชีทให้ถูกต้องตั้งแต่แรกจึงไม่ใช่เรื่องที่ควรมองข้าม เพราะไม่เพียงแค่ช่วยประหยัดงบประมาณในระยะยาว แต่ยังช่วยเสริมความน่าเชื่อถือ ความปลอดภัย และความยั่งยืนของธุรกิจในระยะยาวอีกด้วย 



ตอบโจทย์ทุก “คลังสินค้า” ด้วยเมทัลชีทคุณภาพจากแสงไทย


ตอบโจทย์ทุกคลังสินค้า ด้วยเมทัลชีทคุณภาพจากแสงไทย

แสงไทยเมทัลชีท หนึ่งในผู้นำด้านเมทัลชีทของไทยที่เน้นคุณภาพ และ ความคุ้มค่าเป็นอันดับหนึ่ง โดยเฉพาะในเรื่องของการออกแบบอาคารตั้งแต่ขนาดเล็ก ไปจนถึงขนาดใหญ่ที่เรามีการคัดสรรวัตถุดิบคุณภาพดี เพื่อให้ตอบโจทย์แก่การใช้งานทุกประเภท 


  1. สินค้าของเราผ่านมาตรฐานมอก. ของไทย เช่น มอก.2753/2559 และ มอก.2228/2565 

  2. แผ่นเหล็กเมทัลชีท มีการทดสอบ และผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานในหลายประเทศ ได้แก่ มาตรฐานสากลอเมริกา (ASTM), มาตรฐานสากลญี่ปุ่น (JIS), มาตรฐานสากลออสเตรเลีย (AS), มาตรฐานสากลเยอรมัน (DIN) และ มาตรฐานสากลยุโรป (EN) 

  3. เรามีเกรดหลังคาเมทัลชีทให้เลือกหลากหลาย ได้แก่ ST-PREMIUM รับจบงานทั้งภายในภายนอก, ST-STANDARD ดีไซน์ทนทานมาตรฐานคุณภาพ และ ST-ECO เหมาะกับโครงสร้างที่เน้นใช้งาน ราคาคุ้มค่า 

  4. สีสันหลากหลาย รวมถึงลายไม้พิเศษ ที่ช่วยเพิ่มความเป็นเอกลักษณ์ให้กับอาการได้อย่างลงตัว 

  5. การรับประกันสินค้า ในเรื่องของการกัดกร่อน และสีซีดจาง ตามเงื่อนไขของเกรดเหล็กแต่ละรุ่น เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับเจ้าของบ้านในระยะยาวสูงสุดถึง 35 ปี   


หากคุณกำลังมองหาเมทัลชีทที่สวย ทน สีไม่ซีดง่าย อย่าลืมเลือกเมทัลชีทจากแสงไทย เพราะบ้านที่ดี เริ่มต้นจากหลังคาที่มั่นใจได้  


สรุป 

การสร้าง คลังสินค้า ให้คุ้มค่าต้องเริ่มจากการเลือกเมทัลชีทที่เหมาะกับลักษณะการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น คลังทั่วไป คลังแช่เย็น หรือคลังอุตสาหกรรม เป็นต้น เพราะเมทัลชีทแต่ละแบบมีคุณสมบัติการใช้งานที่แตกต่างกัน ทั้งในด้านความแข็งแรงทนทาน การกันความร้อน กันเสียง และอายุการใช้งาน ดังนั้น การเลือกประเภทของเมทัลชีทในการสร้างคลังเก็บสินค้า ได้อย่างตรงจุด จะช่วยลดต้นทุนในระยะยาว และตอบโจทย์ต่อการใช้งานของอาคารได้อย่างแท้จริง 

 

หากคุณอ่านคอนเทนต์ “รู้ก่อนสร้าง! คลังสินค้าธุรกิจแบบนี้ เลือกใช้เมทัลชีทแบบไหนถึงจะเวิร์ก” แล้วรู้สึกชอบคอนเทนต์ของเราอย่าลืมกดติดตามคอนเทนต์ของเราดี ๆ ได้ที่ 

Facebook : Sangthai Metalsheet 

สุดท้าย หากคุณกำลังมองหาเมทัลชีทพียูโฟมเพื่อต่อเติมโรงงาน หรือ พัฒนาโปรเจกต์ต่าง ๆ เกี่ยวกับการสร้างอาคารด้วยเมทัลชีท 

ติดต่อหา แสงไทยเมทัลชีท ได้ง่าย ๆ ตามช่องทางดังต่อไปนี้ 

LINE: @sangthaigroup หรือ https://lin.ee/wF4jScw 

Call Center: 02-0249297 

Website แสงไทยเมทัลชีท: https://www.sangthaimetalsheet.com 



 
 
 

Comments


bottom of page