ลมก็พัด ฝนก็สาด ปัญหาที่อาจทำให้โครงสร้างบ้านเสียหายได้อย่างไม่ทันตั้งตัว!
แสงไทย ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ 5 สิ่งที่สามารถปกป้องบ้านไม่ให้เกิดความเสียหายในช่วงหน้าฝนมาฝากเพื่อน ๆ ที่อาจยังไม่มั่นใจว่าการเลือกวัสดุก่อสร้าง หรือการต่อเติมบ้านให้เหมาะสมกับสภาพอากาศที่แสนแปรปรวนในประเทศไทยควรจะเลือกทำแบบไหนดี
เชื่อมโครงสร้างให้ยึดติดกัน
เพื่อลดพื้นที่รับแรงปะทะลม เป็นการป้องกันลมพัดโครงหลังคาปลิวออกจากตัวบ้าน ควรตรวจสอบโครงสร้างของบ้าน โดยการเชื่อมหลังคากับเสา และผนังบ้านให้ยึดติดกันแนบสนิท ควรมุงหลังคายื่นออกจากชายคาไม่เกิน 50 ซม. จะช่วยลดปัญหาลมงัดหลังคาได้ ไม่ควรใช้หลังคาขนาดยาวจนเกินไป เมื่อเกิดความเสียหายในจุดเล็ก ๆ จะทำให้สามารถซ่อมแซมได้ง่าย และควรยึดตะปูเกาะถี่ ๆ จะทำให้โครงสร้างหนาแน่นมากยิ่งขึ้น
แยกโครงสร้างกันสาดจากโครงหลังคา
ง่ายต่อการซ่อมแซมเป็นส่วน ๆ ไม่ทำให้กำแพงบ้านรับน้ำหนักมากเกินไป ซึ่งเสี่ยงต่อการแตกร้าวของผนังที่อาจส่งผลให้บ้านเกิดการทรุดตัวในที่สุด หากเลี่ยงติดกันสาดกับผนังบ้านโดยตรงไม่ได้แนะนำให้ทำยื่นออกจากตัวบ้านไม่เกิน 2 เมตร สามารถเสริมความแข็งแรงด้วยเหล็กค้ำยันเข้ากับเสาของตัวบ้านโดยตรง
เลือกหลังคาทรงปั้นหยา
เป็นทรงหลังคาที่สามารถต้านแรงปะทะจากลมได้ดี ควรเพิ่มด้านมุมหลังคาให้ครอบคลุมพื้นที่อาคาร เพื่อรับแรงจากลมพายุรอบด้าน ควรออกแบบชุดหลังคาให้มีหลายแผง หลายมุมจั่วจะช่วยต้านแรง
ปะทะได้ดียิ่งขึ้น ควรทำหลังคาเอียงประมาณ 30 องศา เพราะมีความเชื่อว่าสามารถป้องกันความรุนแรงได้ดีที่สุด
ใช้โครงสร้างที่มีความแข็งแรงและยืดหยุ่นได้ดี
โครงสร้างเหล็ก หรือไม้ ซึ่งรับแรงดึงได้ดีกว่าคอนกรีตทั่วไป สามารถรักษารูปทรงให้คงสภาพและไม่แตกหักพังทลายในทันที วัสดุของหลังคาก็เป็นส่วนสำคัญที่สามารถปกป้องบ้านได้ เมทัลชีท เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ตอบโจทย์ เพราะมีสารป้องกันการเกิดสนิม ทนทานต่อสภาพอากาศและอย่าลืมเลือกสกรูยึดให้เหมาะสม จะทำให้โครงสร้างหลังคาแข็งแรง ไม่ต้องเปลี่ยนหลังคาบ่อย ๆ ลดค่าใช้จ่ายในระยะยาวได้อีกด้วย
สร้างช่องระบายลมใต้หลังคา
ในฤดูฝน อาจมีลมที่ค่อนข้างแรง โครงสร้างของหลังคาบ้านมักจะได้รับผลกระทบ เช่น หลังคาปลิว
ซึ่งเป็นอันตรายอย่างมาก การสร้างช่องระบายลมขนาดเล็กให้ต่ำลงมาจากใต้หลังคาประมาณ 1 เมตร จะช่วยเพิ่มทางผ่านของลมไม่ให้ปะทะกับหลังคาโดยตรง
สนใจสอบถามเพิ่มเติม
LINE:
Call Center: 02-0249297
Opmerkingen